วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติควบคู่มากับองค์พระธาตุพนม และเชื่อมโยงวัดสำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) โดยในตำนานอุรังคนิทานได้กล่าวถึงการก่อสร้างพระธาตุพนมในยุคแรกว่า พระมหากัสสปเถระซึ่งเป็นพุทธสาวกองค์สำคัญ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ นำพระอุรังคธาตุจากประเทศอินเดียแล้วร่วมกับเจ้าพญาทั้ง 5 นคร คือ
- พญาสุวรรณภิงคารผู้ครองเมืองหนองหานหลวง
2. พญาคำแดง ผู้ครองเมืองหนองหานน้อย
3. พญาจุลณีพรหมทัต ผู้ครองแคว้น 12 จุไทย
4. พญาอินทปฐนคร ผู้ครองแคว้น เขมรโบราณ
5. พญานันทเสน ผู้ครองอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ (โคตรบูร)
พระมหากัสสปเถระได้ให้พญาทั้ง 5 นคร ก่อสร้างองค์พระธาตุพนมที่ดอยกปณคีรี หรือภูกำพร้าอยู่ในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เมื่อสร้างพระธาตุพนมเสร็จ พระมหากัสสปเถระและเหล่าพระอรหันต์ เจ้าพญาเสด็จกลับไปแล้ว พระอินทร์และเหล่าเทพยดาทั้งปวงก็เสด็จมาฉลองพระธาตุ เป็นการใหญ่นับเป็นงานพระธาตุครั้งแรก
ในปี พ.ศ.200 ในยุคของพญาสุมิตตธรรมวงศาผู้ครองเมืองมรุกนคร และอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์องค์ต่อมา ได้ร่วมกับพระอรหันต์ทั้ง 5 คือ พระมหารัตนเถระ พระรัตนะเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระและพระสังขวิชาเถระ ได้ร่วมกันบูรณะองค์พระธาตุพนมให้สูงขึ้นราว 24 เมตร หลังจากบูรณปฏิสังขรณ์พระองค์ ได้ถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายบูชาพระธาตุแล้วยังได้มอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง 8 แห่งในเขตแดนนั้นซึ่งมีจำนวนมากถึง 3,000 คน เป็นผู้ดูแลรักษาพระธาตุโดยไม่ต้องเสียส่วยอากรซึ่งเรียกว่า “ข้าโอกาสพระธาตุพนม” จากนั้นมา ก็เข้าใจว่าคงจะมีงานพระธาตุเรื่อยมา
พ.ศ. 2233 – 2263 เจ้าราชครูหลวงโพนสเม็ก พระเถระชาวเวียงจันทน์ได้นำครอบครัวชาวเวียงจันทน์ประมาณ 3,000 ครอบครัว ล่องเรือมาตามแม่น้ำโขงและท่านได้เป็นผู้นำในการบูรณะองค์พระธาตุพนมครั้งใหญ่ โดยเสริมยอดพระธาตุพนมให้สูงขึ้นเป็น 47 เมตร ใช้เวลาในการบูรณะตั้งแต่ พ.ศ. 2236 – 2245 รวม 9 ปี เมื่อบูรณะเสร็จแล้วท่านได้นำครอบครัวเหล่านั้นไปอยู่ที่นครจำปาศักดิ์จนกระทั้งมรณภาพในปี พ.ศ. 2263 รวมอายุ 90 ปี
ในหนังสือประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสเม็ก เรียบเรียงโดยพระมหาแก้ว เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2482 มีข้อความตอนหนึ่งว่า อย่างน้อยท่านคงไปมาระหว่างจำปาศักดิ์กับพระธาตุพนมปีละครั้งในงานนมัสการเป็นกิจวัตร” แสดงให้เห็นว่างานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีมีขึ้นก่อน ยุคนั้นมาแล้ว ต่อมา พ.ศ. 2444 ท่านพระครูอุดรพิทักษ์ (บุญรอด สมจิตร) ท่านได้เดินทางมาพร้อมคณะโดยทางเกวียนถึงวัดพระธาตุพนมและเริ่มลงมือบูรณะพระธาตุพนม เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนอ้าย ปี พ.ศ.2444 ท่านพระครูใช้เวลาบูรณะองค์พระธาตุพนมประมาณ 2 เดือน จึงสำเร็จบริบูรณ์ได้ทำการฉลอง ณ วันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 3 จนถึงวันเพ็ญปีนั้นซึ่งเป็นวันมาฆบูชา และได้กลายเป็นประเพณีสำคัญที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2485 วัดพระธาตุพนมได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร และเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม และประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวัน ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิมการก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุมีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม ปัจจุบันองค์พระธาตุ มีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม
ลักษณะเด่นพระธาตุพนมด้านความสำคัญ
พระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานสำคัญอันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนริมสองฝั่งโขงและ
ประชาชนทั่วไป พระธาตุพนม ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ ๕๒ หน้า ๓๖๘๗ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๑๖๐ หน้า ๓๒๑๗ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๒๒ มีพื้นที่ประมาณ ๑๗ ไร่ ๓ งาน ๕๖ ตารางวา องค์พระธาตุพนม ตั้งอยู่ภายในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัด นครพนม สถานที่ตั้งขององค์พระธาตุเป็นเนินดินสูงกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ ๒ เมตร เนินดินอันเป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุพนม
ตำนานว่า “ภูกำพร้า” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง (ห่างประมาณ ๖๐๐ เมตร) ทิศตะวันออกติดถนนชยางกูร (ถนนสายนครพนม-อุบลราชธานี) ห่างจากถนนสายนี้ไปทางทิศ ตะวันออกจะพบบึงน้ำกว้างประมาณ๓๐๐ เมตร ยาวขนานไปกับแม่น้ำโขง เรียกกันในท้องถิ่นว่า “บึงธาตุ” และเชื่อกันว่าบึงนี้ถูกขุดขึ้นในอดีตเพื่อนำเอาดิน ที่ได้มาปั้นอิฐก่อองค์พระธาตุพนมขึ้น
ตามตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมนี้สร้างครั้งแรกเมืองราว พ.ศ.๘ ขณะที่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ กำลังเจริญรุ่งเรือง โดยเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ ทั้ง ๕ มีพญาศรีโคตรบูรณ์
เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประมุข เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระ
อุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปเถระนำมาจากอินเดียประดิษฐานไว้
ข้างใน
แม้ตามตำนานจะกล่าวว่าพระธาตุพนมถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๘ แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่ปรากฏ สันนิษฐานได้ว่าองค์พระธาตุพนมน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๔ หลักฐานสำคัญที่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ คือ ภาพสลักอิฐแบบโบราณที่ประดับอยู่บริเวณส่วนเรือนธาตุของพระธาตุพนมอันมีลักษณะรูปแบบคล้ายศิลปะทวารวดีแบบฝีมือของช่างพื้นเมือง จากหลักฐานยังเชื่อมโยงเส้นทางพุทธธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) พุทธศาสนาเข้าสู่ภูมิภาคนี้กว่าสองพันปี ซึ่งสอดคล้องทางตำนานและหลักฐานทางโบราณคดีของวัดเขาพระอังคาร โบสถ์ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษ และใบเสมาพันปี ศาสนสถานและโบราณวัตถุอันล้ำค่า มีใบเสมา 8 คู่ ตั้งอยู่ 8 ทิศ พระพุทธศาสนาเจิญอยู่ในถิ่นนี้อาจถึงศองพันปี
เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพระสงฆ์และชนชั้นผู้ปกครอง ประชาชนทั้งสองฝั่งโขง องค์พระธาตุพนมได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยของพระเจ้าโพธิศาลราช แห่ง
อาณาจักรล้านช้าง (ราว พ.ศ.๒๐๗๒-๒๑๐๓) พระองค์ได้เสด็จลงมาบูรณะและสถาปนาวัดพระธาตุ
พนมขึ้นเป็นพระอารามหลวงจากนั้นเป็นต้นมาจึงได้เกิดเป็นประเพณีที่ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างในสมัยต่อ ๆ
มาจะลงมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุพนมเป็นประจำแทบทุกพระองค์
การบูรณะครั้งสำคัญที่ควรกล่าวถึงคือ การบูรณะของท่านราชครูโพนสะเม็กจากเมืองเวียงจันทร์
เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๕ โดยช่างจากนครเวียงจันทร์ ในการบูรณะครั้งนี้ทำให้พระธาตุพนมได้รับ
อิทธิพลรูปแบบส่วนยอดมาจากพระธาตุหลวงที่นครเวียงจันทร์ ซึ่งน่าจะเป็นการกำหนดรูปแบบที่แน่นอนของ
องค์พระธาตุพนมตั้งแต่นั้นมา และได้กลายเป็นแบบฉบับของงานก่อสร้างองค์พระธาตุในภาคอีสานตอนบน
การบูรณะปรากฏอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๔๔ พระอุมัชฌาย์ทา วิคบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี
พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เลา กับคณะ ได้ธุดงค์มาถึงวัดพระธาตุพนม จึงคิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์ จึง
ได้เชิญพระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ทางการช่างมาซ่อม โดยได้ทำ
การกะเทาะปูนเก่าที่ชำรุดแล้วโบกใหม่ ทาสีประดับกระจก กระเบื้องเคลือบในที่บางแห่ง และลงรักปิดทอง
ที่ยอด การบูรณะที่สำคัญอีกครั้ง ได้แก่ ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ พลตรี
หลวงวิจิตรวาทการ รัฐมนตรีและอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นดำเนินการ ในการบูรณะพระธาตุครั้งนี้ได้
ซ่อมแซมโดยเทคอนกรีตเสริมเหล็กจากส่วนเหนือฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ขึ้นไปจนถึงยอดสุด แล้วต่อ
ยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร และเพิ่มฉัตรทองคำเหนือยอดองค์พระธาตุ (เฉพาะฉัตรทองคำ ที่
ดำเนินการสร้างใหม่แทนฉัตรองค์เก่า สร้างแล้วเสร็จและนำไปประดิษฐานเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์
๒๔๙๗) การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ คือ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๙ ถึง เดือนมีนาคม ๒๕๒๒
กรมศิลปากรได้ดำเนินการปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมขึ้นใหม่ภายหลังที่องค์พระธาตุพังทลายล้มทั้งองค์เมื่อวันที่
๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
พระธาตุพนมนี้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดย เฉพาะอย่างยิ่งชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงประชาชนลาวด้วย ในฤดูเทศกาล เพ็ญเดือน ๓ ของทุกปี พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ มาสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม และวัดดพระธาตุพนมเป็นวัดวรมหาวิหาร พระอารามหลวง ถือเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ถึงคราวพระราชพิธีราชาภิเษกทุกรัชกาลมา จะต้องนำน้ำจากสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ไปร่วมพิธีด้วยเพื่อประกอบพิธีมุรธาภิเษก และเมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือ ว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีเดิม จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานต้นไม้ ทอง เงิน น้ำอบและผ้าคลุมส่งไปนมัสการพระธาตุพนมทุกปี และเมื่อถึงเทศกาลเข้าปุ ริมพรรษา ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนพรรษาเป็นพุทธบูชาทุกปีมา
สวัสดีครับ ลงเนื้อหาเยอะๆ นะครับ
ตอบลบ